วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หัวใจประชาธิปไตย

 ผู้บริหารต้องยึดถือหัวใจของประชาธิปไตย  4  ประการ  ดังนี้   

     อิสรภาพ  หมายถึง การเปิดโอกาสให้ครูแต่ละคนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพ  ความรู้  ความสามารถและความมุ่งหวังได้ โดยผู้บริหารไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก
     เสรีภาพ  หมายถึง  ให้บุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพในการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฏหรือความเรียบร้อยของส่วนรวม
     ความเสมอภาค  หมายถึง  บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน
     ภราดรภาพ  หมายถึง  การอยู่ร่วมกัน  ความสามัคคีกลมเกลียวกัน

หัวใจประชาธิปไตย   ประกอบด้วย 3 ธรรม ดังนี้
     ปัญญาธรรม   คือ  การเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน
     คารวธรรม      คือ  การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันในด้ายวัยวุฒิ
     สามัคคีธรรม  คือ  มีความรักใคร่  สามัคคี  ยึดมั่นในส่วนรวมเป็นสำคัญ

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักการพูดครองใจคน

หลักการพูดครองใจคน
       - พุดแต่ดี
       - มีประโยชน์
       - ผุ้ฟังชื่นชอบ
       - ทุกคนไม่เสียหาย
เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำให้คนจดจำได้
       - น้ำเสียง
       - ลีลาการพุด
       - คำพูดหรือประโยคเฉพาะตัว
       - การแต่งกาย  เครื่องประดับ
       - ท่าทาง
       - ทรงผม
       - หน้าตา หรือ อวัยวะที่โดดเด่น
       - ผิวพรรณ
       - อารมณ์ขัน


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บัญญัติ 10 ประการในการสอนคิด

อรพรรณ พรสีมา ได้นำเสนอบัญญัติ 10 ประการในการสอนคิด ไว้ดังนี้
1.ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด และสร้างความสนใจใฝ่รู้ กระตือรือร้นที่จะแสวงหาคำตอบอยู่เสมอ
2.เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็ ได้ใฃ้จินตนาการ โดยใช้สถานการณ์จำลอง หรือคำถามประเภท ถ้า....แล้วอะไรจะเกิดขึ้น
3.เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรที่ทำคนเดียวและทำเป็นกลุ่ม การทำกิจกรรมเดี่ยวจะช่วยให้เด็กได้ไตร่ตรอง ทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำอย่างรอบคอบ ในขณะที่การทำกิจกรรมกลุ่ม จะช่วยให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทำให้มีความคิดกว้างไกลขึ้น
4.ให้เด็กได้ฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ขั้นกลางและขั้นสูง
5.ควรกระตุ้นและเสริมแรงเป็นระยะๆ เพื่อคงระดับความสนใจใฝ่รู้ของเด็กและช่วยให้มีความตั้งใจจริงในการพัฒนาทักษะการคิด
6.ผู้ใหญ่ควรรับฟังความคิดเห็นของเด็กด้วยความตั้งใจเพื่อเป็นการเสริมแรงให้กับเด็กอีกทางหนึ่งและเป็นแบบอย่างของนักฟังที่ดี
7.ควรใช้วิธีชี้แนะ การกระตุ้นที่เหมาะสมแทนการบอกคำตอบที่ถูกต้องทันทีทันใด
8.สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อช่วยให้เด็กวู้สึกอบอุ่น มั่นใจและกระตือรือร้น เช่น ครูยิ้มแย้มแจ่มใส ใจดี รักเด็ก เป็นต้น
9.จัดแสดงสื่อและอุปกรณ์การคิดหลากหลายประเภทและมีปริมาณเพียงพอ เปิดโอกาสให้เด็กเข้าถึงสื่อและอุปกรณ์ได้ง่ายและสะดวก
10.จัดตกแต่งบอร์ดหรือผนังห้อง มีคำถามเตือนใจ มีที่แสดงผลงานทางความคิดของเด็ก

ความประทับใจ

   ในมิติของการเป็นครูอาจารย์นั้น ความประทับใจ แตกต่างจาก ความพอใจ อย่างมีนัยสำคัญ การที่ครูจะทำให้นักเรียนรู้สึกพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ครูไม่เข้าสอนหรือเข้าสอนสาย ไม่เคี่ยวเข็ญ ไม่ให้การบ้านหรือให้เกรดดีๆ นักเรียนส่วนหนึ่งก็อาจรุ้สึกพอใจแล้ว
   แต่ครูจะทำอย่างไรให้นักเรียนเกิด ความประทับใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า
        ทำอย่างไรให้ศิษย์จดจำและระลึกถึงสิ่งดีๆ ที่ครูปลูกฝังให้ไม่รู้ลืม
        ทำอย่างไรให้นักเรียนจดจำว่า ครั้งหนึ่งตนเคยมีครูดีในชีวิต
   และจะรู้สึกวิเศษสักเพียงใด ถ้า "ครูดี" ในนิยามของศิษย์คือเรา
   
                    จากบางตอนของบทความ "บทพิสูจน์ความเป็นครูมืออาชีพ"  
                 โดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
                  ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2553